ดอกเบี้ย 1.25% อนุมัติไว ไม่เช็คบูโร
ลดต้นลดดอก นัดไถ่ถอนได้ตลอด ถูกต้องตามกฎหมาย

บทความ

หลังโควิด-19 “ทักษะ-อาชีพไหน?” รอด

การที่เศรษฐกิจไทยหดตัวหรือติดลบไม่น่าจะต่ำกว่า 8% ตำแหน่งงานใหม่ๆไม่มีการขยาย จำนวนคนว่างงานตลาดแรงงานในระบบอาจเพิ่มขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน
 
ฉะนั้นโอกาสที่นักศึกษาจบใหม่จะสามารถหางานได้จึงน้อยลง อาจจะมีโอกาสหางานได้ประมาณ 40-50 %หากเป็นสาขาที่ยังขาดแคลนก็น่าจะยังมีงานทำอยู่ ยิ่งเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงอัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
 
สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2563 ระบุอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น1.03% มีผู้ว่างงานเกือบ 4 แสนคน และคาดว่าในปีนี้มีแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ขณะที่เด็กจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 5.2 แสนคนอาจไม่มีงานทำ โดยระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.4 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.7% เป็นผลมาจากการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ลดลงเนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงและต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2562
 
ทั้งนี้ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อแรงงาน เห็นผลชัดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยคาดว่าปี 2563 อัตราการว่างงานจะอยู่ในช่วง 3-4% หรือตลอดทั้งปีมีผู้ว่างงานไม่เกิน 2 ล้านคน ขณะที่งานวิจัยของฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลุยทธ์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP Research ระบุว่าประเทศไทยจะมีการเลิกจ้างงานหรือพักงานโดยไม่มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 4.9 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 13.2% ของตลาดแรงงานไทย
 
โดยช่วงกลางปีนี้จะมีนักศึกษาจบใหม่ที่พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานราว 340,000 คน แต่ด้วยวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้บัณฑิตจบใหม่เพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่หางานทำตามความเหมาะกับระดับทักษะได้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ศึกษามาในสายวิชาชีพหรือเทคโนโลยีที่ เพราะยังเป็นความต้องการของหลายภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจสารสนเทศและการสื่อสารที่ยังมีการลงทุนต่อเนื่อง
 
ส่วนบัณฑิตจบใหม่สาขาอื่นๆ ที่ผลิตออกมาจำนวนมากนั้นอาจจำเป็นต้องเลือกทำงานต่ำกว่าระดับหรือตัดสินใจไม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน “อนุสรณ์ ธรรมใจ” อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต อธิบายว่าภาพรวมระบบการศึกษาไทยผลิตนักศึกษาจบปริญญาตรีมากเกินไปโดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์บางสาขา ในขณะที่ผลิตบัณฑิตสาขาด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาวิชาชีพทางด้านช่างและนักเทคนิคต่างๆที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมน้อยเกินไปเป็นผลให้คนรุ่นใหม่ตกงานมากขึ้น
 
ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยเฉพาะ Disruptive Technology ส่งผลให้ภาคการผลิตเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบการทำธุรกิจและประกอบกิจการไม่เหมือนเดิม พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ตลาดแรงงานต้องการคนที่มีทักษะใหม่ๆ สอดคล้องกับลักษณะงานที่เปลี่ยนไป แต่หลักสูตรและคุณภาพการศึกษาปรับตามไม่ทัน จึงทำให้นักศึกษา จบใหม่บางส่วนหางานยาก หรือ ได้ค่าตอบแทนไม่สูงเพราะคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดแรงงาน
 
นอกจากนั้น งานวิจัยขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดการณ์ว่า ในสองทศวรรษข้างหน้า ตำแหน่งงานและการจ้างงานในไทยไม่ต่ำกว่า 44% (กว่า 17 ล้านตำแหน่ง) มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่โดยระบบอัตโนมัติ โดยกลุ่มคนงานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ พนักงานขายตามร้านหรือพนักงานบริการตามเครือข่ายสาขา พนักงานบริการอาหาร ภาคเกษตรกรรม แรงงานทักษะต่ำที่ทำงานซ้ำๆ คนงานโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้าและรองเท้าอาจได้รับผลกระทบสูงถึง 70-80%
 
“เมื่อมองศักยภาพของเด็กไทย บัณฑิตจบใหม่ต้องยอมรับว่าคุณภาพ ทักษะ ความรู้ความสามารถ รวมทั้งทัศนคติอาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง ตลาดแรงงานหดตัวในหลายธุรกิจอุตสาหกรรม และหลายสาขาวิชาชีพ เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกอัตราขยายต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ” รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยฯ ม.รังสิต กล่าว หรือ อาจนับตั้งแต่วิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ.1930 ธุรกิจอุตสาหกรรมส่วนใหญ่โดยภาพรวมไม่ขยายการลงทุนจึงไม่มีความจำเป็นต้องจ้างคนเพิ่ม หากจ้างเพิ่มก็จ้างคนทำงานที่มีประสบการณ์แล้วยังว่างงานอยู่ นายจ้างก็เลือกจ้างคนงานที่มีประสบการณ์มากกว่าเด็กจบใหม่
 
เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด “เด็กรุ่นใหม่” เพราะหลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด–19 การประเมินล่าสุดชี้ชัดว่าได้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับโลก และเศรษฐกิจน่าจะติดลบไม่ต่ำกว่า 5%และยังไม่รู้ว่า เศรษฐกิจฟื้นตัวเมื่อไหร่ จึงไม่ต้องพูดถึงเศรษฐกิจไทยที่วิกฤตหนักไม่แพ้เช่นกัน สภาวะดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อการจ้างงานและหางานของคนรุ่นใหม่ ในยุโรปบางประเทศและละตินอเมริกาบางประเทศการว่างงานของคนหนุ่มสาวอยู่ในระดับเกือบ 30%
 
ด้านจ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ได้เปิดผลสำรวจผู้ประกอบการและคนทำงานผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ครอบคลุมคนทำงานกว่า 1,400 คน และผู้ประกอบการ
 
กว่า 400 คน พบว่าคนทำงาน 1 ใน 4 ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อสถานะการทำงาน แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มในอีก 6 เดือนข้างหน้าพบสัญญาณเชิงบวกในการจ้างงานจากฝั่งผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น จากการสำรวจพบว่ากว่า 25% ของคนทำงานได้รับผลกระทบ โดยมีระดับความรุนแรง ดังนี้ 9% ถูกเลิกจ้าง 16% ถูกหยุดงานแต่ยังคงสถานะลูกจ้าง ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือพนักงานอยู่ในกลุ่มเงินเดือนต่ำกว่า 16,000 บาท พนักงานมีลักษณะงานเป็นสัญญาจ้าง พนักงานอายุมากกว่า 45 ปี และพนักงานในองค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน
 
“อนุสรณ์” กล่าวต่อไปว่าแรงงานที่จะอยู่รอดได้ในยุคนี้ ต้องเตรียมความพร้อมและรับมือกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ต้องมีทักษะด้านบุคคล (Soft Skills) และ ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills)ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะความรู้
 
“บัณฑิตจบใหม่ถ้าไม่อยากว่างงาน ทุกคนต้องฝึกฝนตัวเองให้มีทักษะครบถ้วนในสาขาวิชาชีพตัวเอง มีทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำโดยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ มีเป้าหมายในการหางานให้ชัดเจน มีความรู้พื้นฐานในการทำงานยุคใหม่ทั้งความรู้ทางด้านไอซีที ความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สอง หากหางานไม่ได้ต้องสามารถสร้างงานขึ้นมาเองได้ เป็นงานอิสระหรือเป็นผู้ประกอบการเอง” อนุสรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
 
ขอขอบคุณข่าวสารจาก ฐานเศรษฐกิจ  bangkokbiznews.com